Read full review
2016-01-22
422 views
สำหรับวันนี้จะพาไปกินอาหารมื้อสายควบมื้อกลางวันที่เค้าเรียกกันว่า Brunch (Breakfast+Lunch) กันบ้างนะคะ โดยจะพาไปหม่ำที่ Sunday Brunch กันที่โรงแรม Millenium Hilton ค่า ณ ห้องอาหาร Flow นั่นเองนะฮับซึ่งการไปครั้งนี้ก็เนื่องด้วยช่วงหนึ่งเว็บโอเพิ่นไรซ์มีให้เขียนรีวิวสะสมแล้วก็เอาจำนวนรีวิวเข้าแลก ที่จริงเราตั้งใจจะแลกที่โฟล์วอย่างเดียวใบเดียว (มูลค่า 1000 บาท) ค่ะ แล้วอันอื่นกะว่าจะแลกของเซ็นทรัล ปรากฏว่ามัวแต่ยุ่งๆ พอจะแลกเวาเชอร์เซ็นทรัลหมดซะงั้น เลยกลายเป็นแลกโฟล์วเพิ่มอีกใบและแลก Threesixty ณ โรงแรมเดียวกันอีกใบเป็นสามใบค่ะ เหอๆแต่วันนี้ก็มีแว้บไปชมวิวที่ Threesixty เหมือนกันนะฮับ เพราะซันเดย์บรั้นช์ที่นี่เค้าใ
ซึ่งการไปครั้งนี้ก็เนื่องด้วยช่วงหนึ่งเว็บโอเพิ่นไรซ์มีให้เขียนรีวิวสะสมแล้วก็เอาจำนวนรีวิวเข้าแลก ที่จริงเราตั้งใจจะแลกที่โฟล์วอย่างเดียวใบเดียว (มูลค่า 1000 บาท) ค่ะ แล้วอันอื่นกะว่าจะแลกของเซ็นทรัล ปรากฏว่ามัวแต่ยุ่งๆ พอจะแลกเวาเชอร์เซ็นทรัลหมดซะงั้น เลยกลายเป็นแลกโฟล์วเพิ่มอีกใบและแลก Threesixty ณ โรงแรมเดียวกันอีกใบเป็นสามใบค่ะ เหอๆ
แต่วันนี้ก็มีแว้บไปชมวิวที่ Threesixty เหมือนกันนะฮับ เพราะซันเดย์บรั้นช์ที่นี่เค้าให้ไปนั่งดื่มกินอะไรนิดๆ หน่อยๆ ที่ทรีซิกตี้กันด้วยค่ะ แต่สำหรับรีวิวที่ทรีซิกตี้ฉบับเต็มๆ ที่จะใช้เวาเชอร์อีกใบนี่เดี๋ยวไปแล้วจะมารีวิวอีกทีนะคะ
แต่สำหรับรีวิวนี้ บอกก่อนเลยว่า เนื้อหาเยอะ รูปเยอะกว่า เพราะงั้น...อ่านในที่ที่มีเน็ตแรงๆ นะคะ แหะๆ
ก่อนจะเข้าสู่รีวิว ตอนหาข้อมูลเรื่องบรั้นช์ก็ไปเจอเว็บหนึ่งที่มีทั้งข้อมูลที่มาและแสดงความคิดเห็นไว้อย่างน่าสนใจค่ะ จากลิงก์นี้นะคะ
คําว่าบรันช์เกิดจากการรวมคำว่า breakfast และ lunch เข้าด้วยกัน
พูดง่ายๆ ก็คือมื้ออาหารที่รวบมื้อเช้าและมื้อเที่ยงให้เป็นมื้อเดียวกัน และเนื่องจากรวม 2 มื้อเป็นมื้อเดียว ปริมาณอาหารจึงมากเป็นพิเศษ โดยปกติบรันช์จะเริ่มตั้งแต่ประมาณสิบโมงเช้ายาวไปจนถึงบ่ายสองโมง หรืออาจจะลากไปถึงสี่โมงเย็น เรียกได้ว่ากินกันให้ตายไปข้าง
เมนูอาหารของบรันช์ส่วนใหญ่จะหนักเกือบเท่ามื้อเที่ยงเพื่อให้อยู่ท้อง อาจมีส่วนประกอบเป็นเนื้อหรือแป้ง แต่กระนั้นเองก็ยังคงมีส่วนประกอบของความเป็นมื้อเช้าเจืออยู่ เช่น ไข่ เบคอน ขนมปัง หรือผักสดต่างๆ
เมนูที่เป็นซูเปอร์สตาร์ที่สุดของบรันช์จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก "egg benedict" ที่คือไข่น้ำสไตล์ฝรั่ง โปะอยู่บนเบคอนและขนมปังอิงลิชมัฟฟิน ราดด้วยซอส Hollandaise (ซอสที่ทำจากไข่แดงผสมกับเนยเหลว น้ำส้มสายชู และน้ำมะนาว)
หรือเมนูคลาสสิคอื่นๆ ที่มักจะเสิร์ฟในบรันช์ก็เช่น ขนมปังเบเกิ้ล เฟรนช์โทสต์ แซลมอนรมควัน พาสต้า หรือสลัดต่างๆ
สำหรับเครื่องดื่มของบรันช์ก็จะคล้ายกับมื้อเช้า ได้แก่ กาแฟ ชา น้ำผลไม้
แต่ที่น่าสนใจคือมักจะเสิร์ฟเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย ที่นิยมเป็นอย่างมากคือ ไวน์ขาว แชมเปญ และค็อกเทลสำหรับมื้อเช้า เช่น mimosa (แชมเปญผสมน้ำส้ม) หรือ bloody mary (ว้อดก้าผสมกับน้ำมะเขือเทศ)
น้ำลายไหลกันหรือยังครับ
พ้นจากเรื่องของตัวเมนูอาหาร ความน่าสนใจที่สุดของบรันช์คือบทบาทหน้าที่ที่มีต่อสังคม
ถ้าคิดตามคอมมอนเซนซ์ บรันช์คืออาหารมื้อสายสำหรับคนเมืองที่ขี้เกียจตื่นเช้า อาจจะปาร์ตี้หนักมาจากคืนวันเสาร์หรือตื่นมาแล้วยังแฮงก์อยู่ มันเป็นมื้ออาหารที่สบายๆ ไม่ต้องเร่งรีบ เราจึงมักได้ยินคำว่า Sunday Brunch มากกว่า Saturday Brunch และไม่ค่อยเห็นคนกินบรันช์กันในวันธรรมดามากนัก
ยิ่งถ้าหากเทียบอาหารเช้ากับบรันช์ก็จะเห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
อาหารเช้าคือสัญลักษณ์ของวันทำงาน แต่บรันช์คือสัญลักษณ์ของวันพักผ่อน
อาหารเช้าใช้เวลากินเพียง 15-20 นาที กินอย่างเร่งรีบ แต่บรันช์ใช้เวลาถึง 3-5 ชั่วโมง กินอย่างขี้เกียจ ค่อยๆ ละเลียดไปอย่างชิลๆ
อาหารเช้าคือการใช้งานจริง กินเพื่อเติมพลังงาน ปลุกตัวเองให้ตื่น แต่บรันช์คือการพักผ่อน ผ่อนคลาย รื่นเริงบันเทิงใจ เฉลิมฉลอง และสรวลเสเฮฮา
อาหารเช้ากินคนเดียวก็ได้ แต่บรันช์ควรกินกันหลายคนในหมู่เพื่อนฝูง คนรัก และครอบครัว
บรันช์คืออาหารเพื่อการเข้าสังคมอย่างแท้จริง
แล้วบรันช์เริ่มขึ้นตั้งแต่ตอนไหน
มีหลายเรื่องราวเรื่องเล่าที่กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของบรันช์ บ้างก็บอกว่าเกิดจากผู้ดีชาวอังกฤษที่ชอบออกไปเล่นกีฬาล่าสัตว์กันตั้งแต่เช้า ทำให้ไม่มีเวลาทานมื้อเช้า เมื่อเสร็จจากกิจกรรมแล้วจึงกลับมาซัดมื้อเช้าควบเที่ยงกันให้เต็มคราบ
เท่าที่ไล่อ่านจากหลายที่มา ผมคิดว่าหนังสือ Brunch : A History ที่เขียนโดยศาตราจารย์ด้านอาหาร Farha Ternikar น่าเชื่อถือที่สุด เพราะเธอทำวิจัยเป็นเวลานานจนเขียนออกมาเป็นเล่มได้
Ternikar บอกว่าจากหลักฐานเราค้นพบคำว่า "บรันช์" ครั้งแรกในอังกฤษปี 1895 โดยเป็นบทความที่ชื่อว่า "Brunch : A Plea" เขียนโดย Guy Beringer ตีพิมพ์ในนิตยสาร The Hunter"s Weekly (แสดงว่าที่มาแรกมีความเป็นไปได้)
แทนที่จะทานอาหารค่ำหนักๆ หลังการเข้าโบสถ์ในวันอาทิตย์ Beringer เขียนแนะนำว่าทำไมเราไม่ลองทานอาหารแบบใหม่ เสิร์ฟตอนประมาณสายๆ เริ่มต้นด้วยชาหรือกาแฟ มาร์มาเลด และอาหารเช้า การทานอาหารลักษณะนี้ทำให้ไม่ต้องตื่นเช้าในวันอาทิตย์ ทำให้เหล่านักท่องราตรีรู้สึกสดใสกว่าเดิม และน่าจะช่วยทำให้มนุษย์มีความสุขเพิ่มมากขึ้น
"บรันช์คือการเฉลิมฉลอง การเข้าสังคม และกระตุ้นให้เรามีชีวิตชีวา" Beringer เขียน "มันทำให้เราได้พูดคุยกัน ทำให้เราอารมณ์ดี ทำให้เกิดความรื่นรมย์กับตัวเองและเพื่อนฝูง มันช่วยขจัดความกังวลและความวุ่นวายตลอดสัปดาห์ออกไป"
ชนชั้นผู้ดีชาวอังกฤษเริ่มนิยมทานบรันช์กันในวันอาทิตย์หลังจากการเข้าโบสถ์ นี่จึงเป็นที่มาว่าทำไมบรันช์จึงมักทานกันในวันอาทิตย์
แต่บรันช์ก็ไม่ได้เป็นที่นิยมมากนัก จนกระทั่งเริ่มแพร่หลายเข้ามาในอเมริกา
Ternikar ชี้ให้เห็นไว้อย่างน่าสนใจว่าบรันช์เป็นอาหารที่มีการปรับสภาพไปตามกาลเวลา โดยมี "เพศสภาพ" และ "ชนชั้น" เป็นตัวขับเคลื่อน
Ternikar บอกว่าสำหรับเธอแล้ว The Brunch Wave ในอเมริกามีด้วยกัน 3 ยุค
ยุคแรกคือช่วงปี 1890 ที่เริ่มเข้ามาใน New Orleans โดยมักนิยมกินกันในหมู่นักศึกษามหาวิทยาลัย นั่นหมายความว่าบรันช์เป็นอาหารของชนชั้นสูง กินกันในกลุ่มแคบๆ เพราะในยุคนั้นคนที่เข้าศึกษาในระบบได้ก็ต้องเป็นลูกเจ้าขุนมูลนายเท่านั้น
ที่สำคัญคือชนชั้นกลางและผู้หญิงในช่วงนั้นยังถูกกีดกันการกินเครื่องดื่มมึนเมาตอนกลางวันในที่สาธารณะ เพราะจะทำให้ภาพลักษณ์เสื่อมเสีย
ยุคที่สองคือช่วงปี 1930 ที่บรันช์เริ่มแพร่กระจายเข้าสู่ชนชั้นกลางมากขึ้น ยุคนี้บรันช์เริ่มเป็นมื้ออาหารที่กินกันในโอกาสพิเศษจนกลายเป็นธรรมเนียมถึงปัจจุบัน
เช่น วันแม่ วันอีสเตอร์ วันคริสต์มาส วันวาเลนไทน์ หรือมื้ออาหารสำหรับเจ้าสาวที่เรียกว่า "bridal brunch"
น่าสนใจว่าในคลื่นที่สองของบรันช์นี้ บรันช์ยังกีดกันไม่ให้ผู้หญิงร่วมโต๊ะเท่าไหร่ เพราะภาพลักษณ์เรื่องการกินเครื่องดื่มมึนเมาตอนกลางวันในที่สาธารณะยังมีอยู่ แต่ก็เริ่มมีการใช้บรันช์เป็นสัญลักษณ์ในการปฏิวัติสิทธิของสตรีมากขึ้น
โดยเฉพาะเมื่อหนังสือพิมพ์ The New York Times เคยเสนอว่า "ทำไมเราไม่กินบรันช์กันทุกวันอาทิตย์ไปเลย วันอาทิตย์จะได้มีแค่ 2 มื้อ ผู้หญิงจะได้ไม่ต้องเหนื่อย"
จนกระทั่งมาถึงยุคที่สามช่วงปี 1960 ซึ่งกระแสฮิปปี้และเฟมินิสต์ตื่นตัวมาก บรันช์กลายเป็นแฟชั่นที่มีการตีพิมพ์เมนูอาหารหรือวิธีการทำในนิตยสารหรือหนังสือสอนทำอาหาร โดยเฉพาะหนังสือ Helen Gurley Brown"s Single Girl"s Cookbook ที่เป็นหนังสือสอนสาวโสดทำอาหารยั่วผู้ชาย!
ในหนังสือมีการเขียนไว้ว่า บรันช์เป็นอาหารที่ทำง่าย ไม่ต้องมีเทคนิคมาก แต่ผู้ชายก็หลงได้!
โฮมบรันช์หรือการทำบรันช์เองที่บ้านจึงเริ่มนิยมตั้งแต่ยุคนั้น นั่นหมายความว่า จากอาหารของชนชั้นสูงและผู้ชาย บรันช์เริ่มขยายตัวเองกลายเป็นอาหารของชนชั้นกลางและสำหรับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะการกินกันในครอบครัว
หลังจากปี 1980 เป็นต้นมา บรันช์ได้แพร่กระจายไปทั่วโลกผ่านสื่อของวัฒนธรรมป๊อป เช่น ซีรี่ส์หรือภาพยนตร์ เราจะเห็นบรันช์เสิร์ฟตามโรงแรมหรือภัตตาคารในหัวเมืองใหญ่ทั่วโลก เช่น นิวยอร์ก โตเกียว ปารีส มิลาน ดูไบ มุมไบ เซี่ยงไฮ้ แต่ละพื้นที่ก็มีการประยุกต์แตกต่างกันไป เช่น เซี่ยงไฮ้ที่เสิร์ฟ "ติ่มซำบรันช์" หรือแถบตะวันออกกลางที่เสิร์ฟ "friday brunch" หรือบรันช์วันศุกร์
ในประเทศไทย ผมไม่แน่ใจว่าบรันช์เข้ามาตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่เข้าใจว่าน่าจะนานแล้ว โดยเริ่มต้นผ่านโรงแรมหรู ก่อนที่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจะแพร่กระจายมาสู่ร้านอาหาร ภัตตาคาร และคาเฟ่ที่เริ่มนำบรันช์มาเป็นจุดขาย
ปัจจุบันในย่านสุขุมวิทโดยเฉพาะทองหล่อ เอกมัย อารีย์ หรือเชียงใหม่ ล้วนเต็มไปด้วยร้านเสิร์ฟเมนูบรันช์เก๋ไก๋ และเกือบทุกร้านก็มีคนกรุงผู้แสนขี้เกียจไปต่อแถวรอกินเอ็กเบเนดิกต์กันยาวเหยียด
ด้วยราคาที่ค่อนข้างแพง ขายตามร้านเก๋ๆ หน้าตาอาหารที่ดูน่ากิน และวัตถุดิบที่จัดเต็ม (เช่น แซลมอน ฟรัวกราส์ เห็ดทรัฟเฟิล กุ้งล็อบสเตอร์ หอยนางรม กาแฟดริป) บรันช์จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเท่ ความฮิป ความเก๋
บรันช์เคลื่อนที่จากอาหารของครอบครัวมาสู่อาหารที่กินกันในหมู่เพื่อนฝูง และโยกย้ายจากอาหารของชนชั้นกลางมาสู่ฮิปสเตอร์หรือคนในวงการสร้างสรรค์ (creative class)
กินเฉยๆ ก็ไม่ได้ต้องเซลฟี่ลงโซเชียลมีเดียด้วยอีกแน่ะ
ปรากฏการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับคนกรุงเทพฯ อย่างเดียว แต่เกิดขึ้นตามหลายเมืองใหญ่ โดยเฉพาะนิวยอร์กที่หลายย่านมีแต่ร้านเสิร์ฟบรันช์เต็มไปหมด
ทุกๆ เสาร์อาทิตย์จะมีวัยรุ่นแต่งตัวสุดแนวมาต่อแถวรอกินกันไม่ขาดสาย บรันช์ทำลายการกินรูปแบบเดิมๆ
ยกตัวอย่างเช่น ในร้านอาหารไทยในนิวยอร์กบางร้านก็ยังต้องมีไข่น้ำโปะอยู่แทบทุกเมนู หรือหลายร้านอาหารก็ยกเลิกเมนูอาหารกลางวันมาเสิร์ฟบรันช์แทน
ปรากฏการณ์นี้ทำให้เกิดกระแสต่อต้านบรันช์มากขึ้นเรื่อยๆ ถึงขั้นที่ Shawn Micallef คันไม้คันมือเขียนหนังสือ The Trouble With Brunch และหนังสือพิมพ์ The New York Times ตีพิมพ์บทความชื่อ Brunch Is for Jerks แปลเป็นไทยก็แรงใช่เล่นคือ "บรันช์มีไว้ให้พวกห่วยๆ กิน"
นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นว่ากระแสบรันช์ที่เกิดขึ้นนี้คือความฟุ่มเฟือยของชนชั้นกลาง และเป็น "urban sophistication" หรือพูดง่ายๆ ก็คือ "ความดัดจริตของคนเมือง" ที่แห่ทำตามกันไปหมด
ผมคิดว่ากระแสต่อต้านบรันช์นั้นเป็นไปในกระแสเดียวกับที่เราเคยหมั่นไส้ฮิปสเตอร์ ค่อนแคะสโลว์ไลฟ์ หรือเหน็บแนมคนปั่นจักรยาน
ในฐานะของคนที่เคยกินบรันช์อยู่บ้าง ผมไม่ได้รู้สึกว่าการกินบรันช์คือความฟุ่มเฟือย และก็ไม่ได้รำคาญถึงขั้นว่าบรันช์คือความดัดจริต
ในยุคที่การกินเป็นมากกว่าแค่ "ความสุข" แต่การกินเป็น "ประสบการณ์" เป็น "แพชชั่น" เป็น "อำนาจ" เป็น "การแสดงสถานะ" ผมคิดว่าก็เป็นเรื่องส่วนบุคคลที่เขาจะใช้จ่ายไปกับสิ่งที่เขาต้องการ หรือจะแสดงตัวตนผ่านการเซลฟี่กับเอ็กเบเนดิกต์
ตราบใดที่ไม่ได้เอาเงินผมไปซื้อ ก็ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายที่เราจะไปยุ่งกับไข่น้ำของใคร
มองกันแง่ของวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ บรันช์มีพลวัตของมันอยู่แล้ว มันขยับขยายจากอาหารของชนชั้นสูงมาสู่ชนชั้นกลางในเมือง
นี่จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่บรันช์ในยุคนี้จะกลายเป็นเครื่องแสดงตัวตนและอำนาจบางอย่างของคนกิน
สิ่งที่ผมพอจะมองเห็นอยู่บ้าง อาจไม่ถึงขั้นเป็นปัญหา แต่เป็นแค่ความเสียดาย ก็คือหัวใจหลักของบรันช์ที่มีมาแต่เดิม นั่นคือ "การเป็นมื้ออาหารเพื่อให้เราได้มีเวลาพักผ่อนและมีความสุขกับครอบครัวที่บ้าน"
หัวใจที่แท้จริงของคำว่าบรันช์นี้กำลังเลือนรางขึ้นทุกที
เพราะในขณะที่เรากำลังเซลฟี่กับเอ็กเบเนดิกต์ท่ามกลางเพื่อนฝูง ดูเหมือนว่าจะมีใครบางคนกำลังทำไข่เจียว รอให้ลูกตัวเองกลับมากินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตาที่บ้านอย่างเศร้าซึม
สำหรับการเดินทางไปที่นี่ วันนั้นเราขับรถไปเองโดยอาศัยกูเกิ้ลแมพเช่นเคยค่ะ ซึ่งคราวนี้ไม่พาหลง (ปลื้มใจน้ำตาไหลพรากมาก Smiley) วิ่งไปข้ามแถวสะพานอะไรสักอย่างแหละค่ะ (ข้อเสียของการใช้กูเกิ้ลแม็พคือ..เราจะไม่จำทางค่ะ แหะๆ) ข้ามปุ๊บก็เลี้ยวไปทางซ้ายน่ะค่ะ แล้วก็วิ่งตรงไปเรื่อยๆ เพื่อความเข้าใจเอาแผนที่มาแปะให้ดูเบื้องต้นก่อนแล้วกันนะคะ
ถ้าจำไม่ผิด เราวิ่งมาจนถึงแยกที่ในแผนที่เขียนว่าร.พ.ตากสินอะค่ะ ก็จะเห็นตึกของโรงแรมอยู่ทางซ้ายมือแบบเฉียงๆ ตามภาพนี้นะคะ เลยจากแยกนั้นไปอีกหน่อยเดียวค่ะ จะมีทางเข้าโรงแรมมิลเลียนเนียมฮิลตันอยู่ทางซ้ายมือก็เลี้ยวเข้าไปค่ะ จากนั้นก็วนไปทางซ้ายมือ จะมีทางลงลานจอดรถชั้นใต้ดินอยู่นะคะ มีบัตรจอดรถด้วย อย่าลืมให้ทางห้องอาหารประทับตราค่ะ
วันนั้นเราได้จอดชั้น P3 แหนะ ซึ่งถ้าจำไม่ผิดก็..ชั้นล่างสุดแล้วค่ะของลานจอดรถ จากนั้นวิธีการไปก็กดลิฟท์ไปชั้น L จะเจอตามภาพบันไดและผนังกระจกตามภาพนะคะ แล้วเดินออกไปนอกกระจก ไปที่อีกฝั่ง ก็จะเป็นส่วนของห้องอาหารแล้วค่ะ
แต่ตอนนั้นเราไปครั้งแรก เปิดออกที่ชั้น L เจอภาพดังกล่าวเลยงงๆ เลยกดไปที่ชั้น 2 ที่เป็นที่ตั้งของห้องอาหารหยวนแทนค่ะ
ซึ่งที่ชั้น 2 นี่เปิดออกมาจะเจอพวกห้องจัดเลี้ยง ห้องประชุมนะคะ ก็เดินตรงยาวๆ ไปอย่างเดียวค่ะ จนสุดทางก็จะเจอห้องอาหารหยวนอยู่ ถามพนักงานว่า Flow อยู่ตรงไหน เค้าก็บอกว่าอยู่ชั้นล่าง ให้ลงลิฟท์แก้วที่หน้าห้องอาหารหยวนนี้ไปได้เลยค่ะ
ก็กดลิฟท์ไปชั้น L ออกจากลิฟท์ไป มองไปทางขวามือคือล็อบบี้และทะลุไปก็คือที่เราเจอตอนใช้ลิฟท์ฝั่งลานจอดรถนะคะ
ส่วนทางซ้ายมือก็จะเป็นห้องอาหารโฟล์วแล้วค่ะ เย้ๆ สำหรับ Sunday Brunch ที่นี่ จะเริ่มตั้งแต่เวลา 11.00-16.00 น.นะคะ ค่ะ..อ่านไม่ผิดค่ะ ห้าชั่วโมงเต็มๆ เพียงแต่ช่วง 11.00 น.จะให้ขึ้นไปใช้บริการชมวิว ดื่มและกินอะไรเล่นๆ ก่อนที่ชั้น 32 ThreeSixty น่ะค่ะ พอเวลาเที่ยงก็ลงมารับประทานที่ Flow ได้ และของหวานที่ห้อง The Lantern ก็จะเริ่มตั้งแต่เวลา 13.00 น. (ในป้ายบอกเปิดเที่ยง แต่เราเจอที่ไหนไม่ทราบค่ะบอกว่าเปิดบ่ายโมงง่ะ)
ไลน์อาหารที่โฟล์วปิดเวลา 15.00 น.นะคะ แต่เดอะแลนเทิร์นจะเปิดถึงสี่โมงเย็น และเรานั่งได้ถึงสี่โมงเย็นค่ะ
ซันเดย์บรั้นช์ที่นี่ จะรวมน้ำผลไม้ ชา-กาแฟไว้แล้วนะคะ ขณะที่มื้ออื่นๆ ของที่นี่จะไม่ได้รวมเครื่องดื่มค่ะ
ถามว่า ห้าชั่วโมงอิชั้นอยู่จนครบมั้ย..ขอบอกว่าครบค่ะ และเพิ่งรู้ตัว ณ วันนี้เองว่า ตัวเองเหมาะกับซันเดย์บรั้นช์ที่ให้ระยะเวลายาวๆ อย่างนี้มาก ค่อยๆ กินไป ดูวิวไป ฟังเพลงไป เล่นโซเชียลไป คือ วันนั้นกินจนไม่กล้าคำนวณแคลอรี่น่ะค่ะ คิดดูแล้วกัน กินได้เยอะมากกกกกกกกกก เป็นมื้อหนึ่งที่มีความสุขมากๆ Smiley
จบจากมื้อนี้ไป คิดกับตัวเองเลยว่า..จะหาโอกาสไปลองบรั้นช์ที่อื่นให้ได้ค่ะ เอามันให้ครบทุกโรงแรมในกรุงเทพฯ เลย หุๆ (กะว่าจะพาบรรดาน้อง เพื่อน ฯลฯ ที่เราจะเลี้ยงวันเกิดทั้งหลายไปกินบรั้นช์นี่แหละฟระ จะได้ไปได้หลายๆ ที่ มีคนช่วยกินหลายๆ คนด้วย อิอิ)
สำหรับการแต่งกายในการมารับประทานซันเดย์บรั้นช์ที่นี่ก็ตามนี้เลยนะคะ เอาหละค่ะ เราต้องขึ้นลิฟท์อีกตัวหนึ่งเพื่อจะไปยังชั้น 31 ก่อนนะคะ โดยลิฟท์ที่นี่ถ้าเป็นชั้นอื่นๆ ที่เป็นห้องพัก จะต้องใช้การ์ดเสียบก่อนค่ะ แต่ถ้าเป็นชั้น 31 ก็กดได้เลยนะคะ เปิดออกไปปุ๊บก็จะเจอป้ายบอกนะคะ ซ้ายมือจะเป็นประตูไปรูฟท็อปบาร์ค่ะ แต่จะเปิดห้าโมงเย็นนะคะ เราก็ต้องเดินไปทางขวามือแทนค่ะ เดินไปจนสุดทางขวามือ ก็จะเจอเป็นห้องๆ หนึ่ง (น่าจะเป็นห้องอาหารเช้าสำหรับห้องพักที่อยู่ในไทพ์ที่สูงขึ้นไปนะคะ) เราก็ต้องขึ้นบันไดที่อยู่กลางห้องนี้ขึ้นไปที่ชั้น 32 ค่ะ
ขึ้นไปก็จะเจอการตกแต่งตามภาพนี้นะคะ ห้องอาหารนี้ได้รางวัลมาเยอะพอควรเลยหละค่ะ จากนั้นก็เดินเข้าไปค่ะ แจ้งเจ้าหน้าที่ แล้วก็เริ่มเก็บภาพค่ะ
วิวสวยเชียว เห็นแม่น้ำเจ้าพระยาและอาคารบ้านเรือนริมน้ำค่ะ มีใครเห็นวัดพระแก้วมั้ยคะ จากนั้นพนักงานก็นำเมนูเครื่องดื่มของคนที่มาใช้สิทธิ์ซันเดย์บรั้นช์มาให้เลือกค่ะ มีให้เลือกทั้งหมด 5 อย่าง เราเลือกน้ำมะนาวนะคะ อ้อ นี่คือหน้าตาเวาเชอร์ที่แลกมาค่ะ อีกอย่าง...เราโทร.มาจองล่วงหน้าก่อนแล้วนะคะกับโฟล์ว โดยถามแล้วว่าใช้ได้มั้ย พอใช้ได้ก็แจ้งชื่อเบอร์โทร.ไว้แค่นั้นค่ะ
เราสั่งน้ำมะนาวไปนะคะ และนี่คือของว่างที่เค้านำมาให้กินค่ะ ที่จริงเป็นเซ็ตสำหรับสองท่าน แต่เค้าไม่มีเซ็ตสำหรับหนึ่งท่านค่ะ เลยให้เซ็ตนี้เรามา สำหรับรสชาติ น้ำมะนาว มาตรฐานปกติค่ะ ไม่ได้โดดเด่นอะไร
หอยจ้อ ออกแนวเค็มนิดๆ ค่ะ แต่พอกินกับน้ำจิ้มแล้วรสจะพอดีนะคะ ปอเปี๊ยะ โอเคมาก เหมือนจะแข็งๆ แต่ไม่แข็งและยังกรอบอยู่ รสชาติดี กุ้งก็สดโอค่ะ ส่วนสุดท้ายนั่นคือหมึกวาซาบิชุบแป้งทอด รสชาติแปลกดีค่ะ แต่เรากินแค่ชิ้นเดียวนะคะ เพราะเดี๋ยวจะไปกินที่โฟล์วแล้วง่ะนะ อีกอย่างกินไปชิ้นหนึ่งก็รู้สึกเลี่ยนเล็กๆ แล้วค่ะ แหะๆ
พอใกล้ๆ เที่ยงเราก็ลงมารอที่ชั้นล่างค่ะ พอเที่ยงปุ๊บก็ไปติดต่อเจ้าหน้าที่ที่เคาน์เตอร์ แจ้งชื่อไปแล้วเจ้าหน้าที่ก็พาไปที่ที่นั่งค่ะ
ภายในห้องอาหารมีทั้งอินดอร์และเอาท์ดอร์นะคะ วันอาทิตย์สำหรับบรั้นช์จะมีนักดนตรีมาเล่นดนตรีเพราะๆ ให้ฟังด้วยค่ะ จากนั้นก็เริ่มไปเก็บภาพแล้วค่ะ ตรงเคาน์เตอร์บาร์นี่จะมีน้ำผลไม้ที่รวมในไลน์บุฟเฟท์อยู่นะคะ วันนั้นมีสามชนิดค่ะ เราว่าน้ำฝรั่งกับน้ำส้มอร่อยดี แต่ไม่ได้ลองน้ำสับปะรดค่ะ จากนั้นก็ไปที่จุดเด่นอย่างหนึ่งของที่นี่นะคะ กับห้องชีสรูมนั่นเองค่ะ อยู่ในห้องแอร์ต่างหากเลย ละลานตามากๆ ชีสมาจากหลายที่เลยค่ะ มีรายละเอียดบอกด้วยว่าเป็นชีสอะไร จากไหน คนชอบชีสน่าจะมีความสุขมากๆ เลยค่ะ จากนั้นออกมาจากห้องชีสค่ะ ก็จะเริ่มกันที่โซนนี้นะคะ มีที่นั่งอยู่อีกพอควรค่ะ โซนแรกจะมาจากห้องอาหาร Prime (Steakhouse) ของโรงแรมนี้ค่ะ
ถัดไปจะเป็นพวกโคลด์คัท สลัด (ที่มีแบบทำให้สดๆ กับซีซาร์สลัดซึ่งเป็น Signatrue ของ Prime) และมีเสต็กทาทาร์ด้วยค่ะ ทำให้สดๆ เช่นกันนะคะ ส่วนพวกเนื้ออบจะแยกไปอยู่ที่อีกไลน์นะคะ
ถัดไปติดๆ กันเป็นส่วนของซีฟู้ดแล้วค่ะ ก็จัดเต็มกันมาทั้งปูอลาสก้า หอย (มีทั้งแมลงภู่ หอยเชลล์และหอยนางรม) กุ้ง คาร์เวียร์ ถัดไปที่อีกด้านค่ะ ถัดไปเป็นซุปครีมข้าวโพดและฮอทดิชอีกหลายเมนู เราว่าที่นี่ทำน่ากินและดูสวยงามดีค่ะ (แต่ถามว่าได้กินมั้ย..ไม่ได้แตะเลยค่ะ พุงเต็มก่อน เสียดาย) แซลมอนและพาสต้าค่ะ พาสต้าที่นี่ไม่ได้ทำสดร้อน แต่ใส่ภาชนะแบบนี้แทนค่ะ และอุ่นร้อนด้วยน้ำที่รองอยู่ในถาด ซึ่ง..เฮ้ย นอกจากเก๋แล้วยัง practical ด้วยค่ะ เพราะเราได้ลองตอนไลน์ใกล้ๆ ปิดกับ spicy pasta (หรือผัดขี้เมานั่นเอง) เส้นและความร้อนก็ยังโอเคอยู่นะคะ (คือไม่ได้ร้อนจ๋าแบบเพิ่งเสร็จจากเตา แต่ก็อุ่นกำลังกินแหละคะ่) มีผัดผักสีสันสดใสและมันบดด้วยค่ะ พาสต้าจะมีแบบปกติกับแบบสไปซี่นะคะ แยกออกจากกันคนละถาดค่ะ ซอสแบบต่างๆ น้ำเกรวี่และอื่นๆ สำหรับพวก roast และ grill ทั้งหลายนะคะ วันนั้นมี Roasted Prime Rib กับ Roasted Lamb Leg ค่ะ ฝั่งตรงข้ามของไลน์ส่วนนี้จะเป็นสลัดค่ะ มีผักให้เยอะพอควรเลยหละค่ะ
ต่อไปเป็นมุมอาหารอินเดียกันบ้างค่ะ ก็จะมีข้าวผัดอินเดีย แกงไก่ (Chicken Tikka Masala) แกงถั่วดำ (Black Lentil) ไก่อบอินเดีย (Chicken Tikka) นานแบบกระเทียมกับนานธรรมดา พร้อมเครื่องเคียงค่ะ มีการทำนานให้เห็นแบบร้อนๆ ด้วยนะคะ
ส่วนต่อไปที่อยู่ใกล้ๆ กับอาหารอินเดีย จะเป็นอาหารจีนจากห้องอาหารหยวน (Yuan) และอาหารไทยค่ะ อาหารจีนก็มีขนมจีบกุ้ง กระเพาะปลา คะน้าฮ่องกงน้ำมันหอย หอยเชลล์ซอสเอ็กซ์โอ ก๋วยเตี๋ยวหลอดหมูแดงและหมูหันพร้อมหมั่นโถวค่ะ ส่วนอาหารไทยก็มีกุ้งผัดมะขาม ส้มตำไทย ปลาหิมะนึ่งมะนาว ปูผัดผงกะหรี่ ปลาราดพริกสามรส ต้มยำกุ้งและแกงเขียวหวานค่ะ สีต้มยำกุ้งนี่ข้าพเจ้างงเล็กน้อยค่ะ แต่ไม่ได้ลองชิมเลยเม้นท์ไม่ได้นะคะ
ต่อไปเป็นมุมอาหารญี่ปุ่นนะคะ ก็มีเทมปุระ เครือ่งเคียง ซูชิหน้าปลาไหล (ซึ่งมีจำกัดค่ะ พอหมดล็อตแรกเค้าจะเปลี่ยนเป็นซูชิอย่างอื่นแทนอ้ะ) ยำสาหร่าย แคลิฟอร์เนียโรล ปลาดิบ และซูชิหน้าอื่นๆ ค่ะ จากนั้นก็มานั่งที่โต๊ะค่ะ ระหว่างไลน์อาหารไทยกับญี่ปุ่นจะมีประตูออกไปสู่เดอะแลนเทิร์นซึ่งจะเป็นส่วนของของหวานนะคะ
เดี๋ยวค่อยพาไปดูอีกทีเนาะ
มาดูค่ะว่าเรากินอะไรบ้างนะคะ อันแรกเลยก็ซีซาร์สลัด ขอให้น้องเค้าทำมาแบบน้อยๆ ก็ตามภาพค่ะ ผักสดดี รสชาติมาตรฐานทั่วไปค่ะ ส่วนเสต็กทาทาร์ เป็นเนื้อดิบคลุกตามภาพนะคะ เนื้อใช้เนื้อดีค่ะ นุ่ม ซอสไม่กลบรสเนื้อมากนะคะ กำลังดีค่ะ
ส่วนอาหารไทยเราสั่งมาลองสองอย่างคือ กุ้งผัดมะขามกับปูผงกะหรี่ค่ะ กุ้งผัดมะขามรสซอสชัดและจัดดีค่ะ กุ้งก็สดดีไม่เสียชื่อ อร่อยค่ะ ชอบ ส่วนปูผงกะหรี่ รสกลางๆ นะคะ แต่เราว่าการเอาปูมาทำทั้งแบบนี้มันทำให้กินยากไปน่ะ เอาเฉพาะเนื้อปูมาทำจะง่ายสำหรับการกินมากกว่านะคะ แต่ปูที่เอามาทำก็เนื้อยุ่ยนิดๆ ด้วยค่ะ สรุปสองจานนี้ชอบตัวกุ้งมากกว่านะคะ
พนักงานเอาเมนูเครื่องดื่มมาให้ค่ะ เผื่อจะสั่งอะไรดื่มนอกจากน้ำผลไม้ แต่เราไม่ได้สั่งนะคะ แหะๆ
ต่อไปเป็นเนื้อวัวและเนื้อแกะนะคะ
ตัวเนื้อแกะนุ่มดีอยู่ค่ะ กลิ่นแกะชัด เราลองกินกับซอสเปปเปอร์คอร์นด้วย โอเคนะคะ แล้วก็ลองกินกับซอสมิ้นท์ ซึ่งซอสมินท์ที่นี่รสค่อนข้างเข้มค่ะ ใช้แต่น้อยก็พอ
เนื้อวัวนิ่มและหอมกลิ่นเนื้อ ใช้เนื้อค่อนข้างดีค่ะ ซอสไวน์แดงนี่ค่อนข้างกลางๆ ค่ะ ไม่เด่นค่ะ
ฟัวร์กราส์ จานนี้ทำมาเกรียมไปนิดค่ะ
ต่อไปเป็นอาหารจีนกันบ้างนะคะ ก๋วยเตี๋ยวหลอดไส้หมูแดง จะเห็นว่าบางส่วนไม่มีเนื้อหมูแดงเลยค่ะ ทำให้ช่วงนั้นรสจะไม่ค่อยสมดุลอ้ะ มีแต่แป้งนะคะ หมูแดงออกเค็มนิดๆ แต่โอค่ะ ซอสก็โอค่ะ
หอยเชลล์ เค้าล้างมาไม่ค่อยดีค่ะ ทำให้มีทรายแทรกอยู่ในเนื้อหอยแหละ
หลังจากนั้นก็ขอเบรคด้วยของหวานบ้างค่ะ เลยเดินไปที่ห้อง The Lantern นะคะ ห้องอาหารนี้เปิด 8.00-20.00 น.ค่ะ แต่วันอาทิตย์ก็จะสำหรับบรั้นช์ค่ะ เปิดเข้าไปก็จะเป็นตามภาพเลยนะคะ ของหวานก็กระจายตามจุดต่างๆ เดี๋ยวจะพาไปเจาะแต่ละส่วนนะคะ โซนแรกจะเป็นพวกทาร์ต พาย และมีมิลเฟยมะม่วงด้วยค่ะ ในตู้สองตู้นี้จะเป็นพวกเค้ก ชีสเค้กค่ะ รวมอยู่ในบรั้นช์เช่นกัน ถ้าใครไม่ชอบของหวานก็มีผลไม้ให้สามชนิดค่ะ ถัดไปเป็นซูเฟล่ วัฟเฟิล และเมอแรงค่ะ ที่กรี๊ดมากคือหน้าสเตชั่นไอศกรีมผัด มีช็อคโกแลตแผ่น (ที่มีปั๊มตรารร.ไว้ด้วย) ซึ่งมีทั้งไวท์ช็อคฯ มิลค์ช็อคฯ และดาร์คช็อคฯ ค่ะ กรี๊ดมาก คุ้กกี้ค่ะ มีทั้งหมด 6 แบบ แต่เราไม่ได้ลองกินเลยแหละ อิ่มก่อนง่ะ แหะๆ
โซนต่อไปจะอยู่ใกล้ๆ กับประตูทางเข้าออกนะคะ
จะมีทั้ง Assorted Jelly / Assorted Chocolates และ Brandy Grand Cru Truffle ค่ะ
ส่วนด้านหลังของโต๊ะที่เป็นพวกพายทาร์ตจะมีเครื่องนี้อยู่ค่ะ ตอนแรกเรานึกว่าสั่งชากาแฟที่รวมในบรั้นช์ตรงนี้ แต่ไม่ใช่นะคะ ต้องสั่งที่เคาน์เตอร์บาร์ที่เดียวกับน้ำผลไม้น่ะค่ะ
มาดูกันค่ะว่าเราเบรคของหวานด้วยอะไรบ้างนะคะ (ค่อนข้างหนักไปทางช็อคโกแลต แหะๆ)
ตัวไวท์ช็อคฯ จะมีผลไม้แทรกมาด้วย อร่อยสดชื่นมากค่ะ ตัวมิลค์ช็อคฯ อร่อยมาตรฐานค่ะ ถ้าเทียบสองตัวนี้เราว่าไวท์ช็อคเด่นกว่า
ตัวช็อคโกแลตที่เป็นสีดำๆ แล้วมีเขียวๆ แต้ม น่าจะไส้มะพร้าวค่ะ แปลกๆ ดี แต่ไม่ถูกจริตเราเท่าไหร่ แต่ชาวต่างชาติอาจจะชอบนะคะ ตัวช็อคโกแลตที่เป็นก้อนกลมๆ ข้างในจะเป็นเนยถั่วแบบไม่เค็มค่ะ โอเคนะคะ ตัวที่เป็นรูปคล้ายๆ พระจันทร์เสี้ยว อร่อยแบบนวลๆ สไตล์ไวท์ช็อคฯ ค่ะ ไส้เหมือนมีกลิ่นซินนามอนนิดๆ นะคะ ส่วนตัวที่มีรูปสิงโต เป็นไวท์ช็อคไส้ถั่วค่ะ เราชอบมากกว่าตัวพระจันทร์เสี้ยวนะคะ ทาร์ตแอพพริค็อต อร่อยนะคะ เปรี้ยวๆ หวานๆ หอมชีสหน่อยๆ แต่ถ้าไม่ชอบแนวนี้อาจจะเฉยๆ นะคะ
ตัวไอติมสปาเก็ตตี้นี่ เราว่าละลายเร็วไปหน่อยง่ะค่ะ แล้วซอสสตรอเบอรี่ (ที่พนักงานใส่มาให้) ก็กลบรสไอติมหมดเลยแหละ
บราวนี่ถั่ว เข้มข้นดี ดาร์คช็อคโกแลตมาเต็มมาก มาการงมะม่วง โอค่ะ เปลือกบางกรอบ เนื้อโอ หอมมะม่วง โอเคเลยค่ะ ส่วนทาร์ตสตรอเบอรี่ อร่อยดีค่ะ เนื้อทาร์ตร่วนนิดๆ สตรอเบอรี่ใหญ่ เนื้อแน่น ไม่เปรี้ยวมาก กำลังดีค่ะ โดยรวมอร่อยค่ะ
ส่วน Assorted Jelly เราหยิบมาสีเดียวค่ะ รสออกแนวเยลลี่รสพุทราน่ะค่ะ อร่อยแปลกดี ตอนแรกจะไปหยิบมาลองเพิ่ม แต่อิ่มก่อนเลยไม่สามารถค่ะ
เนื่องด้วยเริ่มกินของหวาน เราเลยสั่งชามาแกล้มค่ะ แน่นอนว่าสั่งเอิร์ลเกรย์ (อีกแล้ว) อืมม์..เค้าใช้น้ำชงชาที่กรองมาน่าจะไม่ค่อย 100% ค่ะ ม้นมีกลิ่นบางอย่างของน้ำปนมาด้วยง่ะ แต่กาเก็บความร้อนได้ดีมากค่ะ เราดื่มแบบทิ้งระยะห่าง แต่ก็ยังร้อนอยู่ค่ะ
คั่นด้วยคาวกันบ้างค่ะ (เป็นลักษณะการกินบุฟเฟท์เราน่ะค่ะ คือถ้าเริ่มเอียนคาวจะคั่นด้วยหวานแล้วค่อยกลับมากินคาวใหม่ แหะๆ)
ตัวปูอลาสก้า ทำดีค่ะ ไม่เค็มมาก ใช้ได้ โอเคค่ะ ส่วนหอยนางรม เรากินแบบกินกับน้ำจิ้มซีฟู้ดค่ะ อร่อยค่ะ สด (พนง.บอกว่านำเข้าหอยนางรมมาจากฝรั่งเศสค่ะ)
ตอนเรากลับไปดูที่ไลน์ซูชิพิเศษ (ที่ไม่ได้อยู่ที่ไลน์ด้านหน้า) ปรากฏว่าไม่มีซูชิหน้าปลาไหลแล้วค่ะ เป็นหน้านี้แทนนะคะ
ต่อไปค่ะกับหมูหันและสไปซี่สปาเก็ตตี้
หมูหันกรอบดีนะคะ (คงเพราะมีไฟอุ่นแขวนอุ่นไว้ตลอด) ซอสโอ ไม่เค็มจัดเหมือนบางที่ และหมั่นโถวก็โอค่ะ
ส่วนสปาเก็ตตี้สไปซี่ (หรือขี้เมานั่นเอง) เส้นลวกมากำลังดีมาก อุ่นก็กำลังดี รสชาติจัดดีค่ะ อร่อยเลยแหละ ชอบภาชนะที่ใส่มาก ทำให้ไม่เป็นไอ แต่เก็บอุณหภูมิได้ดีค่ะ
พอสักช่วงบ่ายสามเป็นต้นมา ก็เริ่มมีหลายคนมากินอาฟเตอร์นูนทีแล้วค่ะ แต่ตรงนี้ไม่ทราบรายละเอียดนะคะ (แต่ขนมทีนี่อร่อยนะ เหมาะกับการทำอาฟเตอร์นูนทีค่ะ)
ราคาเท่าที่ถามพนักงานอยู่ที่ 450++ นะคะ เป็นชาร้อนหรือกาแฟร้อนสำหรับสองท่าน (ไม่รีฟิลล์) พร้อมขนมหนึ่งเซ็ตตามภาพค่ะ โดยอาฟเตอร์นูนทีในวันจันทร์ถึงเสาร์จะเป็น 14.30-17.00 น.ค่ะ แต่ถ้าวันอาทิตย์จะเป็น 15.00-17.00 น. แต่ถ้ามากินวันอาทิตย์ต้องนั่งใน Flow เท่านั้นนะคะ วันอื่นสามารถไปนั่งที่ The Lantern ได้ค่ะ
จากนั้นก็เพิ่งจะนึกออก (เหรอป้า) ว่าควรไปกินชีสค่ะ เพราะไหนๆ ก็เป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งของที่นี่ง่ะนะคะ
เลยลากสังขาร (และพุงที่แน่นมาก) ไปที่ห้องชีสตักชีสมาสองตัวพร้อมเครื่องเคียงดังภาพค่ะ
ตัวชีสเปลือกสีส้มนิดๆ ที่อยู่ใกล้กว่า กลิ่นจะค่อนข้างแรงกว่าบรี (ตัวไกล) นะคะ ซึ่งเวลากินกับเครื่องเคียงต่างๆ จะได้ผลที่แตกต่างกันดังนี้ค่ะ
- กับสตรอเบอรี่แห้ง จะโดนสตรอเบอรี่แห้งกลยหมดเลยค่ะ รสแหลมไปค่ะ
- กินกับองุ่น กลายเป็นรสปลาเค็มซะงั้น...แปลกมาก
- กินกับอ่า..เรียกว่าอะไรหว่า สีเหลืองแห้งๆ อะค่ะ รสกลางๆ ไม่ส่งเสริมไม่หักล้าง
-สตรอเบอรี่สด โดนกลบเช่นกันค่ะ แต่ช่วยกลบกลิ่นชีสได้ดีค่ะ
ส่วนตัวบรี กินกับอะไรก็โอเคหมดเลยค่ะ จะส่งรสค่อนข้างนวลๆ ยกเว้นถ้ากินกับสตรอเบอรี่สดบางลูก (โดยเฉพาะลูกที่ไม่ค่อยแดง) จะทำให้ชีสเค็มขึ้นค่ะ
จากนั้นเราก็ให้พนักงานมาเก็บเงินค่ะ ก็ยื่นเวาเชอร์พร้อมบัตรเครดิตจ่ายเพิ่มอีก 200 บาท แล้วก็ปั๊มตราจอดรถค่ะ เหมือนจะให้จอดฟรีกี่ชั่วโมงไม่แน่ใจ (มันเลือนๆ) แต่พอตอนออกจริงๆ ก็ไม่โดนเก็บเงินเพิ่มนะคะ (ก็ไม่ควรเก็บเพิ่มนะ แหะๆ) แล้วก็ให้ทิปไปด้วยค่ะ เพราะพนักงานที่นี่บริการดีนะคะ โอเคค่ะ
จากนั้นเราก็เดินผ่านล็อบบี้ชั้น L นี้ออกไป ผ่านน้ำพุแล้วก็ไปที่ฝั่งอาคารจอดรถค่ะ
สรุปสำหรับ Sunday Brunch ของ Millenium Hilton นะคะ
ข้อดีนะคะ
เด่นคือ ห้องชีสที่มีชีสแบบอลังการมาก และของหวานค่ะ ของหวานนี่จัดเต็มมาก แฮปปี้สุดๆ เรามีความสุขกับการกินของหวานที่นี่มากๆ ค่ะ อาหารจีนอร่อยหลายตัวเลย แล้วก็การได้ดูวิวที่ทรีซิกตี้ก่อนพร้อมอาหารและเครื่องดื่มก็โอเคมากค่ะ และการให้เวลา (ที่เช็คจากกระทู้หนึ่ง) ถึง 5 ชั่วโมง (ถ้าตัดทรีซิกตี้ไปก็ 4 ชั่วโมง) ก็ถือว่ายาวนานสมกับความเป็นบรั้นช์มากค่ะ โอมาก
ข้อเสียค่ะ
ตัวซีฟู้ด..ไม่เด่นเท่าบางที่ที่ราคาถูกกว่านี้ยังมีล็อบสเตอร์แล้วเลยอะค่ะ แหะๆ ส่วนตัวอาหารญี่ปุ่นไม่ค่อยเด่นเท่าไหร่ง่ะค่ะ ใครที่ชอบกินอาหารญ๊่ปุ่นเวลาไปบุุฟเฟท์รร. (ซึ่งไม่ใช่เรา กร๊ากกก เราชอบกินอาหารญี่ปุ่นที่ร้านหรือห้องอาหารที่เน้นอาหารญี่ปุ่นจริงๆ ไปเลยมากกว่าค่ะ) อาจจะไม่ค่อยเอนจอยเท่าไหร่นะคะ
ก็หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่ตัดสินใจว่าควรไปกิน Sunday Brunch ที่นี่หรือเปล่านะคะ สัญญาว่าจะพยายามไปกินซันเดย์บรั้นช์ที่รร.อื่นอีกแล้วมารีวิวค่ะ เย้ๆ
ป.ล. รูปลงได้ไม่ครบนะคะ เพราะครบกำหนด 50 รูปแล้วค่ะ ฮือๆ
Post