ฮอร์โมนกับความอ้วน
ก็เกี่ยวข้องกัน ในตอนที่แล้วได้นำเสนอฮอร์โมนหิว ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "เกรลิน" (Ghrelin Hormone) กันไปแล้ว ตอนต่อของฮอร์โมนหิวมีชื่อว่าฮอร์โมนอิ่ม มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เล็ปติน (Leptin) ในช่วงแรกนักวิทยาศาสตร์เรียกฮอร์โมนนี้ว่า ฮอร์โมนอ้วน เพราะในคนอ้วนจะพบระดับของฮอร์โมนตัวนี้สูงกว่าปกติ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นฮอร์โมนอิ่ม เพราะหน้าที่ของฮอร์โมนเล็ปตินคือ การส่งสัญญาณจากเซลล์ไขมันไปยังเซลล์สมอง เพื่อบอกว่ามีพลังงานเพียงพอแล้ว ไม่ต้องหิวอีก ซึ่งคนอ้วนแม้จะมีเล็ปตินสูงแต่กลับเกิดภาวะดื้อต่อเล็ปติน อย่างไรก็ตาม แม้เล็ปตินในเลือดจะมีปริมาณสูง แต่ไม่สามารถผ่านเข้าสู่สมองไปส่งสัญญาณบอกให้เซลล์สมองสั่งการให้อิ่มได้ ทำให้กินเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักอิ่ม
...น่ากลัวจริงๆ
ฮอร์โมนกับความอ้วนเป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจเหมือนกัน ถ้าอย่างนั้นลองมาดูดีกว่าว่าเราจะมีวิธีจัดการกับการไม่รู้จักอิ่มได้อย่างไรบ้าง
1.อย่างแรกที่ต้องทำสำหรับคนที่ทานเท่าเราก็ไม่รู้จักอิ่ม คือการควบคุมสิ่งกระตุ้นเล็ปติน โดยหลีกเลี่ยงการทานของหวานๆ หรืออาหารที่มีน้ำตาลสูง ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นการดื้อต่อเล็ปตินที่เกี่ยวเนื่องกับการแกว่งขึ้นลงของระดับน้ำตาลในเลือด
2.ด้วยฮอร์โมนกับความอ้วนเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กัน ข้อต่อมาที่ควรระวังคือการคิดว่ากินไปก่อนแล้วค่อยไปออกกำลังทีหลัง เพราะการกินที่มากเกินไปจนระดับน้ำตาลในเลือดสวิงขึ้นลงเป็นประจำ ก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอิ่มด้วยเช่นกัน
3.ข้อต่อมาคือ การเลี่ยงอาหารที่มีน้ำเชื่อมฟรุคโตส (High Fructose Corn Syrup) จากการศึกษาในหนูพบว่า หนูที่ได้รับประทานฟรุคโตสในปริมาณสูงจะอ้วนง่ายกว่าหนูที่รับประทานน้ำตาลชนิดอื่น แล้วยังกินได้ไม่รู้จักอิ่มเนื่องจากดื้อต่อเล็ปติน ดังนั้น ถ้าไม่อยากให้อ้วนก็ต้องลดน้ำเชื่อมฟรุคโตส ที่พบมากในน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำผลไม้ น้ำสลัดแบบหวาน และขนมหวานต่างๆ
4.ส่วนอาหารที่ควรจะทานเพื่อลดอาการไม่รู้จักอิ่ม ให้เน้นกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ดี คือแป้งเชิงซ้อนและธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง โอ๊ต ลูกเดือยกล้อง แต่ก็ต้องในปริมาณที่เหมาะสม
5.ข้อควรระวังถัดไปของฮอร์โมนกับความอ้วน ต้องเลี่ยงไขมันอิ่มตัว จำพวกเนื้อติดมัน นมวัว เนย และชีส ...ของอร่อยทั้งนั้นเลยนะเนี่ย
นอกเหนือจากอาหารที่เป็นเรื่องสำคัญต่อฮอร์โมนกับความอ้วนแล้ว การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในแบบแอโรบิก เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ก็ช่วยลดภาวะดื้อต่อฮอร์โมนเล็ปตินลงได้ จึงจำเป็นต้องควบคุมอาหารและออกกำลังกายไปพร้อมๆ กัน เพื่อจะได้ไม่เกิดอาการกินไม่รู้จักอิ่ม
ฮอร์โมนกับความอ้วนตอนแรก >>กำจัด "ฮอร์โมนหิว" ตัวการขัดขวางยามลดความอ้วนกันเถอะ
เครดิต: เครือข่ายคนไทยไร้พุง โดยพญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (หมอผิง) thaihealth.or.th และ newsana.com