ขึ้นชื่อว่า อาหารใต้ ฟังแล้วย่อมรู้สึกได้ถึงความเผ็ดร้อนมาแต่ไกล อาหารของทางภาคใต้มักประกอบด้วยเครื่องแกงรสจัดเข้มข้น แต่นอกจากความเผ็ดแล้วยังมีพืชผักหลายชนิดเป็นพื้นฐานของความอร่อย ถือเป็นเอกลักษณ์ที่ขาดไม่ได้ของอาหารใต้ แถมยังมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย
สะตอ
ผักพื้นบ้านภาคใต้ที่มีกลิ่นฉุนรุนแรงเป็นเอกลักษณ์ นำไปผัดกับกุ้งสดหรือใส่ในคั่วกลิ้งก็อร่อยถูกใจ สะตออุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินบี 1-3 และวิตามินซี มีส่วนช่วยบำรุงสายตา ลดความดันโลหิต ป้องกันเส้นเลือดอุดตัน ลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่สะตอมีกรดยูริกสูง ผู้ที่เป็นโรคเกาต์จึงควรหลีกเลี่ยง
คลิกดูสูตรอาหารจากสะตอได้ที่นี่
สะตอผัดกะปิกับกุ้ง ร้านจันทร์หอม
ใบชะพลู
ใบชะพลูเป็นส่วนประกอบในอาหารใต้หลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นแกงปูใบชะพลู กินคู่กับเส้นหมี่ แกงคั่วหอยแครงใบชะพลู หรือแกงปลาดุกใบชะพลู ด้วยรสชาติของใบและกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ทำให้เข้ากับแกงเผ็ดได้ดี ใบชะพลูมีแคลเซียม ใยอาหาร วิตามินเอ และเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยบำรุงสายตา บำรุงกระดูก แต่ก็มีสารออกซาเลตสูงเช่นกัน ซึ่งถ้าสะสมในร่างกายมากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดนิ่วในไตได้ จึงควรรับประทานอย่างระมัดระวัง
คลิกดูสูตรอาหารจากใบชะพลูได้ที่นี่
ใบเหลียง
ใบเหลียง ผักเหลียง หรือใบเหมียงผัดไข่เป็นเมนูอาหารใต้สุดฮิตที่กินได้ทุกเพศทุกวัย ด้วยรสชาติที่ไม่เผ็ดซี้ดจนน้ำตาไหล แต่อร่อยจนกินได้เรื่อยๆ ใบเหลียงมีรสมัน ไม่ขม มีใยอาหารและวิตามินหลายชนิด รวมถึงสารเบต้าแคโรทีนซึ่งมีมากเทียบเท่าแครอท ถึงแม้ใบเหลียงจะไม่มีสีส้มเจือปนเลยก็ตาม ใบเหลียงมีเบต้าแคโรทีนสูงกว่าผักบุ้งจีน 3 เท่า และมากกว่าผักบุ้งไทยถึง 5-10 เท่า
คลิกดูสูตรอาหารจากใบเหลียงได้ที่นี่
ใบเหลียงผัดไข่ ร้านครัวปุ๊กลุ๊ก
ขมิ้น
ขมิ้นเป็นพืชผักอีกชนิดที่พบมากในอาหารใต้ เนื่องจากอาหารใต้มักมีรสชาติเผ็ดร้อน จึงนิยมใช้ขมิ้นประกอบอาหารควบคู่กัน เพราะขมิ้นมีฤทธิ์ช่วยสมานแผลและป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร จึงช่วยไม่ให้ปวดท้องเมื่อกินของเผ็ดมากเกินไปนั่นเอง นอกจากนี้ขมิ้นยังช่วยลดคอเลสเตอรอล เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน บำรุงตับ บำรุงหัวใจ และช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งด้วย
คลิกดูสูตรอาหารจากขมิ้นได้ที่นี่
ปลาเห็ดโคนทอดขมิ้น ร้านเบียร์หิมะ & ปัญญา ซีฟู้ด
Credit: thaihealth.or.th,
greenerald.blogspot.com,sukkaphap-d.com