การเคี้ยวอาหารเป็นสิ่งที่เราทุกคนคุ้นเคยกันอยู่แล้ว แต่หลายครั้งก็มองข้ามความสำคัญของการเคี้ยวไปนะคะ อัตราความเร็วของการเคี้ยวอาหารเป็นสิ่งหนึ่งที่เราควรคำนึงถึง เพราะว่าส่งผลหลายอย่างต่อสุขภาพร่างกายของเราด้วย แต่ที่แน่ๆคือยิ่งเคี้ยวอาหารให้ช้าลง และละเอียดได้มากเท่าไหร่ก็จะยิ่งส่งผลดีได้มากเท่านั้น มาดูกันค่ะว่าการเคี้ยวอาหารให้ช้าลงส่งผลดีอย่างไรบ้าง
ผลดีของการเคี้ยวอาหารให้ช้าลง – ช่วยให้ประสิทธิภาพในการย่อยอาหารดีขึ้น เพราะเมื่อเคี้ยวอาหารช้าลง อาหารก็จะมีความละเอียดมากขึ้น ส่งผลให้ระบบการย่อยอาหารทำงานน้อยลงด้วย และการเคี้ยวอาหารช้ายังช่วยกระตุ้นต่อมน้ำลายและต่อมใต้หู ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่มีผลต่อสมอง ส่งผลให้เกิดการพัฒนาความคิด มีสมาธิดี ช่วยให้สมองแข็งแรงขึ้นได้
ทิ้งท้ายกันด้วยอัตราการเคี้ยวอาหาร ต่อ 1 คำ มาดูกันว่าส่งผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
30 ครั้ง ต่อ 1 คำ เพื่อเหงือกและฟันที่แข็งแรง ให้ใช้จังหวะในการเคี้ยวอาหาร 30 ครั้ง ต่อ 1 คำ ไม่ช้าไม่เร็วเกินไป
50 ครั้ง ต่อ 1 คำ ช่วยลดน้ำหนักได้ เนื่องจากไม่มีส่วนผสมของน้ำ ที่มากเกินความจำเป็นดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย แถมยังช่วยลดความตึงเครียด ความกังวลต่างๆได้อีกด้วย
60 ครั้ง ต่อ 1 คำ อาการท้องผูกจะลดลง ยิ่งถ้าเลือกทานอาหารที่มีกากใยมากๆด้วยแล้ว จะยิ่งช่วยให้ระบบการย่อยทำงานได้ดีขึ้น
80 ครั้ง ต่อ 1 คำ ช่วยให้มีประสาทสัมผัสที่ไวขึ้น ความจำดี และยังช่วยให้จำแนกรสชาติของอาหารได้อย่างแม่นยำ
100 ครั้ง ต่อ 1 คำ ทำให้สมองมีระบบการจัดการที่เป็นระบบ มีแบบแผนดีขึ้น ลดอารมณ์ที่เกิดจากความตึงเครียดได้มาก แถมยังช่วยให้เกิดความอยากอาหารประเภทเนื้อสัตว์ลดน้อยลงอีกด้วย
150 ครั้ง ต่อ 1 คำ เหมาะมากสำหรับผู้ที่มีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้เมื่อเกิดความโกรธ หรือโมโห เพราะการเคี้ยวอาหารช้ามากแบบนี้ จะช่วยให้อารมณ์เย็นลงได้ อีกทั้งยังช่วยให้ระบบการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้ดีขึ้น
200 ครั้ง ต่อ 1 คำ ช่วยให้สมองขบคิดกระบวนการคาดการณ์และวินิจฉัยปัญหาต่างๆ ได้แม่นยำมากขึ้น ยิ่งเคี้ยวช้าสมองของคุณก็จะยิ่งทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เครดิตภาพ : shutterstock, nipa, aksorn