ขี้ปลาวาฬ
หรือบูมแพลงก์ตอน นั่นก็คือการเพิ่มปริมาณของแพลงก์ตอนพืชอย่างรวดเร็วจนทำให้น้ำเปลี่ยนสี และนอกจากจะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำแล้วยังส่งผลต่อคนที่รับประทานเข้าไปด้วย ซึ่งคนจะได้รับอันตรายจากหอย
ที่ทานเข้าไปอีกที เพราะเมื่อขี้ปลาวาฬเข้าสู่สัตว์ทะเลผ่านทางห่วงโซ่อาหารแล้ว จะสร้างสารพิษพวกไบโอท็อกซินที่ไม่สามารถทำลายได้จากการปรุงอาหาร
เตือนภัยคนชอบกินซีฟู้ด! เลี่ยงกินหอยทะเลแหล่งสะสมขี้ปลาวาฬ
หลังจากมีปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ ทางกรมอนามัยได้แจ้งเตือนผู้บริโภคให้ระวังอันตรายจากหอย โดยเฉพาะอันตรายจากหอยสองฝา เช่น หอยกะพงและหอยนางรม เพราะหอยทั้ง 2 ชนิดนี้กินแพลงตอนทุกชนิด โดยเฉพาะในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ที่มีแพลงตอนไดโนแฟลกเจลเลตมากในทะเล มีโอกาสที่หอยนางรมเป็นพิษมากขึ้น สำหรับอันตรายจากหอย หากรับประทานเข้าไปจะทำให้ปากชาและแน่นหน้าอก ไม่เพียงเท่านั้นในอาหารทะเลช่วงนี้ยังพบแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของโรคท้องร่วงมากที่สุดคือ เชื้ออหิวาต์เทียมหรือวิบริโอ พารา ฮีโมไลติคัส เชื้อชนิดนี้สามารถพบได้ทั้งในน้ำทะเลและอาหารทะเล เช่น ปลา ปูม้า หอย กุ้ง กั้ง ปูทะเล และปลาหมึก ทั้งยังพบในอาหารประเภทหอยแครงลวก ปลาดิบ ยำหอยนางรม ปูดอง หอยดอง ซึ่งพบเชื้อได้ทั้งปีแต่จะพบมากช่วงหน้าร้อนในเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ซึ่งอาการที่ปรากฏชัดหลังจากกินเข้าไป 12-24 ชั่วโมง คือ ท้องเสีย อาเจียน ปวดท้องอย่างรุนแรง อาจมีอาการปวดศีรษะและหนาวสั่นร่วมด้วย
ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬเกิดขึ้นจากแพลงตอนจำพวกไดโนแฟลกเจลเลต ซึ่งพบได้ในน้ำทะเลทั่วไป แต่ด้วยอากาศที่ร้อนเพิ่มขึ้นในช่วงหน้าร้อน ทำให้สัตว์ชนิดนี้แบ่งเซลล์และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในน้ำทะเล สังเกตจากน้ำทะเลเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลแดง ซึ่งขี้ปลาวาฬจะเข้าสู่สัตว์ทะเลผ่านทางห่วงโซ่อาหาร และพบมากในหอยซึ่งจะสร้างสารพิษพวกไบโอท็อกซิน ที่สำคัญคือสารพิษชนิดนี้ทนความร้อนและไม่สามารถทำลายได้ในกระบวนการปรุงอาหาร คนที่ชอบรับประทานหอยจึงต้องระวังอันตรายจากหอย ด้วยการเลือกกินอาหารทะเลที่สดสะอาด ล้างน้ำให้สะอาดทุกครั้ง โดยเฉพาะสัตว์ทะเลที่มีผิว เปลือก หรือกระดอง เพื่อกำจัดแบคทีเรียปนเปื้อน สำหรับกุ้งถ้าจะเก็บให้เด็ดหัวทิ้งก่อนแช่แข็งจะช่วยลดแบคทีเรียได้ถึงร้อยละ 50 และต้องหมั่นฟังข่าวว่า มีขี้ปลาวาฬเกิดขึ้นเมื่อไหร่และที่ไหน ก็ต้องงดทานอาหารทะเลช่วงนั้น แต่ข้อไหนก็ไม่สำคัญเท่าการรับประทานอาหารปรุงสุกทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย
ไม่เพียงแต่อันตรายจากหอยเท่านั้น แต่อุณหภูมิที่สูงขึ้นของฤดูร้อน ยังทำให้เชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในอาหารทะเลเจริญเติบโต แล้วยังพบโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว สังกะสี แคดเมียม และทองแดง ในอาหารทะเลประเภทปูม้า หอยนางรม และปลาหมึก สิ่งที่น่ากลัวคือ สารพิษเหล่านี้มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในทุกปี
เพื่อลดความเสี่ยงเลี่ยงอันตรายจากหอย ก่อนจะกินหอยนางรมแนะนำให้แช่น้ำปูนเพื่อลดความเป็นพิษ หรืองดกินในช่วงนี้ รอให้ผ่านพ้นช่วงอันตราย แล้วค่อยมาอิ่มอร่อยกันใหม่นะคะ
ไม่เพียงแต่อันตรายจากหอยที่ต้องระวัง แต่คนชอบกินไข่แมงดาก็ต้องระวังเช่นกัน คลิกอ่าน ใครชอบเมนูไข่แมงดาต้องระวัง! ทานแมงดาทะเลผิดชนิดถึงแก่ชีวิตได้ง่ายๆ
เครดิต: anamai.moph.go.th