คุณรู้จัก “สังขยา” ดีพอหรือยัง
2016-08-25

สังขยาสำหรับคุณเป็นแบบไหนกัน? หากจะพูดถึงสังขยาหลายคนก็อาจจะมีภาพสังขยา 2 แบบอยู่ในหัว สังขยาแบบเหลวข้นใช้ขนมปังนุ่มๆ จุ่มกินฟินเฟอร์ กับสังขยาแบบที่อยู่ในลูกฟักทองหรืออยู่บนหน้าข้าวเหนียวมูนหวานนุ่มละมุนลิ้น ด้วยหน้าตาที่แตกต่างกัน แต่กลับมีชื่อเสียงเรียงนามเหมือนกัน มาดูกันว่าสังขยานั้นมีที่มาอย่างไร แล้วสังขยาทั้ง 2 แบบมีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่

 

ในเว็บไซต์วิกิพีเดียได้แยกคำอธิบายของสังขยาทั้ง 2 แบบไว้ออกจากกัน ดังนี้

1.สังขยา (ขนม) สังขยาแบบนี้ได้รับอิทธิพลจากโปรตุเกส นิยมกินกับข้าวเหนียว หรือใส่ฟักทอง เผือก หรือมะพร้าว แล้วนำไปนึ่ง เป็นคนละชนิดกับสังขยาที่กินกับขนมปัง มีส่วนประกอบหหลักคือ ไข่ น้ำตาล กะทิ สังขยาแบบนี้ยังพบเห็นได้อีกหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย กัมพูชา สิงคโปร์ เป็นต้น

สังขยา

Cr.Pic: OpenRicer-mammikojung

2.สังขยา (ขนมปัง) ทำจาก ไข่ น้ำตาล กะทิ นำมากวนให้เข้ากัน นิยมแต่งสีและกลิ่นด้วยใบเตยให้ได้สีเขียว หรือผสมกับน้ำชาเรียกสังขยาชาเย็น ใช้ทาขนมปังหรือใช้เป็นไส้ขนมปัง  ในมาเลเซียและอินโดนีเซียมีขนมลักษณะเดียวกันนี้เรียก กายา หรือศรีกายา เป็นแบบที่ทำให้ข้น ใช้ทาขนมปัง ใช้เป็นไส้ขนมได้ด้วย มีส่วนผสมเป็นไข่ กะทิ น้ำตาล สังขยาที่ใช้กินกับขนมปังจะต่างจากสังขยาที่กินกับข้าวเหนียว

สังขยา

Cr.Pic: OpenRicer-sudatip

“สังขยา” คำนี้มาจากไหน

ว่ากันว่า สังขยา มาจากภาษามาเลย์ อ่านว่า กายา (Kaya) หรือ ศรีกายา(Seri Kaya) หมายถึง ร่ำรวย และด้วยส่วนผสมหลักของสังขยาคือน้ำตาลมะพร้าว กะทิ และไข่ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่ายในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้สังขยาเป็นหนึ่งในอาหารที่พบเห็นได้ในหลายประเทศ แต่อาจจะมีรูปร่างหน้าตาสีสันที่แตกต่างกันไปบ้าง

ฟักทองสังขยามะพร้าวอ่อน

ฟักทองสังขยามะพร้าวอ่อน

Cr.Pic: OpenRicer-prawarin

สังขยาชาไทย จิ้มกินกับขนมปัง

สังขยาชาไทย

Cr.Pic: OpenRicer-bowvy10

Kaya Toast ขนมปังปิ้งทาสังขยาและเนย จากร้านกาแฟและอาหารเช้าจากสิงคโปร์

Kaya Toast ขนมปังปิ้งทาสังขยาและเนย

Cr.Pic: http://sg.openrice.com/en/singapore/article/12-local-dishes-you-must-try-in-singapore-a1358

Watalappam วัตตาลัปปาม ขนมของศรีลังกา คล้ายขนมสังขยาบ้านเรา

สังขยาศรีลังกา วัตตาลัปปาม Watalappam

Cr.Pic: http://ceyloncityhotel.com/wp-content/uploads/2016/07/Watalappam.jpg

สีของสังขยาแบบธรรมชาติแบบที่ไม่ใส่สีอื่นเพิ่มเติมมักเป็นสีน้ำตาลจากน้ำตาลมะพร้าวที่เป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งในปัจจุบันมีพ่อค้าแม่ค้าหัวใสน้ำน้ำตาลมะพร้าวที่ผสมแป้งมัน กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทราย เพื่อลดต้นทุนและไม่ทำให้น้ำตาลคืนตัวเร็วซึ่งหลายคนชอบ บ้างก็ใส่สารฟอกขาวให้มีสีขาวน่ากิน แต่อาจทำลายทั้งสุขภาพของผู้บริโภคและยังทำลายรสชาติของอาหารอีกด้วย น้ำตาลมะพร้าวแท้ จะหวานมัน มีกลิ่นหอม ไม่หวานแหลมหรือมีกลิ่นเหม็นฉุน เมื่อเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ น้ำตาลจะเริ่มไม่เป็นก้อน เปลี่ยนสีเป็นเหลืองน้ำตาล การเก็บในตู้เย็นช่วยรักษารูปร่างและสีของน้ำตาลมะพร้าวไว้ได้ หากใครชอบใช้น้ำตาลมะพร้าวในการปรุงอาหาร อย่าลืมเลือกซื้อน้ำตาลให้ปลอดภัยและใส่ใจกันสักนิด จะได้กินอาหารอร่อยๆ และดีต่อสุขภาพด้วย

สำหรับใครที่ห่วงสุขภาพ กลัวอ้วน สังขยาอาจเป็นเมนูที่ไม่ตอบโจทย์นัก แต่ช่วยเพิ่มความแฮปปี้จากความหวานได้ไม่น้อย กินแล้วก็อาจจะต้องยับยั้งชั่งใจไม่ให้กินเยอะจนเกินไป ประกอบกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ


อ้างอิง: https://th.wikipedia.org/wiki/สังขยา_(ขนม) l https://th.wikipedia.org/wiki/สังขยา_(ขนมปัง) l https://th.wikipedia.org/wiki/วัตตาลัปปาม l https://www.doctor.or.th/article/detail/1757

คีย์เวิร์ด
สังขยา
ขนม
ขนมปัง
กายา
kaya
OpenRice TH Editor
Monthly chart
อร่อยแบบรสมือที่คุ้นเคยกับครัวดอกไม้ขาว
4 วันที่แล้ว