“น้ำเชื่อม” เรียกเป็นภาษาอังกฤษก็คือ “ไซรัป” นั่นเอง เวลาพูดถึงน้ำเชื่อมมักจะนึกถึงของเหลวหนืด สีใสที่ใช้ราดของหวานคู่กับน้ำกะทิ จริงๆ แล้วน้ำเชื่อมนั้นมีหลากหลายประเภทให้เลือกใช้ วันนี้เราได้รวมน้ำเชื่อมที่มักใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องดื่ม อาหาร และขนมมานำเสนอ เพื่อคุณจะได้เลือกใช้น้ำเชื่อมให้เหมาะกับเมนูต่างๆ กัน
Cr.Pic : Paper&String
น้ำเชื่อมอาจหมายถึง การนำน้ำตาลมาละลายกับน้ำจนเกิดความหวานด้วยความเข้มข้นระดับต่างๆ หรืออาจหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการย่อยสตาร์ชจากแป้งให้มีโมเลกุลเล็กลง จนมีลักษณะเป็นของเหลว ใส และข้นหนืด (อ้างอิง : http://sweetsurvive.blogspot.com/2015/08/sugar.html)
น้ำเชื่อมธรรมดา (Simple Syrup) ได้จากการเคี่ยวน้ำตาลกับน้ำที่ไฟปานกลาง มีสีใส ที่เห็นกันบ่อยๆ คือใช้ราดขนมหวานไทยคู่กับน้ำกะทิ หรือใช้ตามร้านกาแฟเพิ่มเพิ่มความหวานให้เครื่องดื่มอย่างชาและกาแฟ และบาร์เทนเดอร์ใช้ผสมเครื่องดื่มค็อกเทล เป็นต้น
มันเทศเชื่อม
Cr.Pic : https://pantip.com/topic/33099689
น้ำเชื่อมเมเปิ้ล (Maple Syrup) ได้จากน้ำเลี้ยงของต้นเมเปิ้ลนำมาต้มจนได้น้ำเชื่อมเข้มข้น มักใช้ราดบนขนมหวานแทนน้ำผึ้งอย่างแพนเค้ก , วาฟเฟิล หรือ โอ๊ตมีล แต่น้ำเชื่อมเมเปิ้ลแท้ๆ นั้นมีน้อย ที่เราเห็นกันมักเป็นน้ำเชื่อมแต่งกลิ่นเมเปิ้ลสังเคราะห์
บทความเรื่อง Maple Syrup น้ำเชื่อมแสนแพงจากแคนาดา
แพนเค้กราดด้วยน้ำเชื่อมเมเปิ้ล
Cr.Pic : Amanda Morari
ช็อกโกแลตไซรัป (Chocolate Syrup) หรือที่เราเรียกกันติดปากว่าซอสช็อกโกแลต ทำจากผงโกโก้ผสมกับคอร์นไซรัป ใช้ราดเป็นท็อปปิ้งบนเค้ก , ไอศกรีม โดยเฉพาะเมนูไอศกรีมช็อกโกแลตซันเดย์ที่ขาดช็อกโกแลตไซรัปไม่ได้
ไอศกรีมบราวนี่ราดด้วยช็อกโกแลตไซรัป
Cr. Pic : Lu Zorzin
คอร์นไซรัป หรือ แบะแซ น้ำเชื่อมลักษณะเหนียวหนืด สีใส ใช้กับอาหารหรือขนมที่ต้องการให้ส่วนผสมจับตัวกัน และมีความเงา เช่น ไอศกรีม , ซอสมะเขือเทศ , ลูกอม และ น้ำจิ้ม
บทความเรื่อง "เรื่องราวความหวานของ แบะแซ”
ซอสมะเขือเทศทานคู่กับเฟรนช์ฟรายส์
Cr. Pic : Tom Noe
กากน้ำตาล (Molasses) เป็นสิ่งสุดท้ายที่เหลือจากการทำน้ำตาลของอ้อย มีสีน้ำตาลเข้มและเหนี่ยว ตกผลึกไม่ได้อีกแล้ว แต่ไม่ไร้ประโยชน์ เพราะนำไปเป็นส่วนผสมในลูกอม , คุกกี้, รัม , ผงชูรส และซอสปรุงรสได้
กากน้ำตาล
Cr.Pic : Gee I Jane
น้ำเชื่อมข้าวบาร์เลย์ (Barley Syrup) สารให้ความหวานที่ไม่ผ่านการเจือปนโดยการสกัดจากเมล็ดข้าวบาร์เลย์ มีสีน้ำตาลเข้ม รสชาติใกล้เคียงกับกากน้ำตาล มีระดับความหวานน้อยกว่าน้ำตาลทราย ใช้ในการหมักเบียร์และทำขนมปัง
ขนมปังที่มีส่วนผสมของน้ำเชื่อมข้าวบาร์เลย์
Cr. Pic : Harmony Brown
น้ำเชื่อมข้าวแดง (Brown Rice Syrup) น้ำเชื่อมที่ได้จากการหมักข้าวแดงให้เปลี่ยนเป็นน้ำตาลที่ย่อยง่าย มีความข้นเหนียว สีน้ำตาลสว่าง รสชาติไม่หวานมากโดยให้ความหวานเท่ากับครึ่งเดียวของน้ำตาลทราย ใช้เป็นสารให้ความหวานในการทำอาหารต่างๆ ไม่ควรทานมากกว่า 12 ช้อนชาต่อวัน
น้ำเชื่อมข้าวแดง
Cr.Pic : Brown Eyed Baker
น้ำเชื่อมแต่ละแบบมีรสชาติและวัตถุประสงค์ที่สร้างมาเพื่อใช้งานต่างกัน หากของกินได้เจอกับน้ำเชื่อมที่เหมาะกับตัวมันเองก็จะช่วยให้ของกินนั้นลงตัวมากขึ้น และเมื่อรู้เราว่าน้ำเชื่อมแต่ละแบบเหมาะกับของกินอะไรบ้างแล้ว การเลือกใช้น้ำเชื่อมก็ไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป
Cr. Cover Pic : Bakerella