ท้าวทองกีบม้าเธอเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นตำรับทำขนมไทย ประเภททองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เคยได้ทำอาหารเลี้ยงต้อนรับคณะราชทูตฝรั่งเศสที่มาเยือนในสมัยนั้น จนมีผู้ยกย่องว่าเป็น "ราชินีแห่งขนมไทย"
ท้าวทองกีบม้า หรือ มารี กีมาร์ เดอ ปีนา หรือ ตองกีมาร์ เกิดที่กรุงศรีอยุธยา เป็นลูกครึ่งโปรตุเกส-ญี่ปุ่น และเบงกอล โดยมารดาของท้าวทองกีบม้าชื่อ เออร์ซูลา ยามาดะ ซึ่งมีเชื้อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส ส่วนบิดาชื่อ ฟานิก กูโยมา เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอลและโปรตุเกสจากอาณานิคมกัว (ปัจจุบันคือรัฐกัว ประเทศอินเดีย) เธอเป็นภรรยาของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอน ชาวกรีกที่เข้ามารับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
หลังจากที่สามีถูกประหารชีวิตท้าวทองกีบม้าถูกส่งตัวเข้าไปเป็นคนรับใช้ในพระราชวัง และได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ทำอาหารหวานประเภทต่างๆ ส่งเข้าไปในพระราชวังตามกำหนด การทำหน้าที่จัดหาอาหารหวานส่งเข้าพระราชวัง ท้าวทองกีบม้าได้ประดิษฐ์ขนมขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา โดยดัดแปลงตำรับเดิมของโปรตุเกส และนำเอาวัตถุดิบท้องถิ่นที่มีในสยามเข้ามาผสมผสาน ซึ่งหลักๆได้แก่ มะพร้าว แป้งและน้ำตาล จนทำให้เกิดขนมใหม่ที่มีรสชาติอร่อย พระราชวังก็ได้ให้ความชื่นชมมากและถูกเรียกตัวเข้าไปรับราชการในพระราชวังในตำแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องต้น
ท้าวทองกีบม้า เมื่อเข้าไปรับราชการในพระราชวังได้สร้างสรรค์ขนมหวานหลายชนิด โดยดัดแปลงมาจากตำรับอาหารโปรตุเกส ให้เป็นขนมหวานของไทย และเผยแพร่ไปทั่วจวบจนทุกวันนี้
ขนมที่เชื่อว่าท้าวทองกีบม้าได้ดัดแปลงเป็นขนมหวานของไทยนั้น ได้แก่ กะหรี่ปั๊บ, ขนมหม้อแกง, ทองม้วน, ทองหยอด, ทองหยิบ, ฝอยทอง, สังขยา, ขนมผิง
ที่มา : Wikipedia
เครดิตภาพ : Wikipedia, crhouseware, kaemwee.wordpress, kanomthongthai, mythaimenu, yiboso, viteetam, sakid, foodspotting