ส่วนหวานด้านล่าง
1. ผสมแป้งข้าวจ้าวกับแป้งมัน ค่อยๆผสมน้ำใบเตยทีละนิดลงไปในแป้ง ใช้มือคนเรื่อยๆเพื่อบี้แป้งไม่ให้เป็นเม็ด
2. พอหลังจากผสมกับน้ำใบเตยแล้ว เทหางกะทิลงไป ใช้มือคนส่วนผสมเหมือนเดิม
3. ใส่น้ำตาลปี๊บลงไปใช้มือบี้น้ำตาลไปเรื่อยๆจนน้ำตาลปี๊บละลายหมด กรองเอาเศษที่อาจเหลือจากแป้งและน้ำตาลออก
ส่วนหน้ากะทิด้านบน
1. ผสมแป้งข้าวจ้าวกับเกลือป่น แล้วเทหัวกะทิลงไปผสมก่อนครั่งนึง เพื่อให้ง่ายกับการผสม
2. เมื่อแป้งและเกลือละลายหมดแล้ว เติมหัวกะทิที่เหลือลงไปคนอีกครั้งแล้วกรอง
ขั้นตอนการนึ่ง
1. นึ่งถ้วยตะไลให้ร้อนก่อน หยอดส่วนผสมส่วนแรกลงไป ¾ ถ้วย ให้ครบทุกถ้วย ปิดฝาหม้อ นึ่งประมาณ 5นาที
2. เมื่อส่วนล่างสุกแล้ว หยอดกะทิด้านบนให้เต็มถ้วย ปิดฝานึ่งต่ออีก 5 นาที
3. พอนึ่งเสร็จทั้งหมด นำออกจากหม้อนึ่ง พักไว้ให้เย็นก่อนรับประทาน
เสน่ห์ขนมไทย
ขนมไทย กล่าวได้ว่ามีอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน เพราะเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่า คนไทยเป็นคนมีลักษณนิสัย อย่างไร เนื่องด้วยขนมไทยแต่ละชนิด ล้วนมีเสน่ห์และรสชาติ แตกต่างกันออกไป แต่แฝงไว้ด้วยความละเมียดละไม วิจิตรบรรจง รูปลักษณ์ กลิ่นและรสชาติของขนมไทยแสดงให้เห็นว่าคนไทยเป็นคนใจเย็น รักสงบ มีฝีมือเชิงศิลปะ ขนมธรรมดาที่ทำด้วยแป้ง น้ำตาล มะพร้าว สามารถดัดแปลงเป็นขนมหลากหลายชนิดได้
ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะโอกาสสำคัญเท่านั้น เช่น งานบุญ งานเทศกาล หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนและอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนมประเพณี เช่น ขนมในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ พวกนี้มีให้เห็นทั่วไป ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาน่ารัก ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมให้ดูสวยงาม
อ้างอิง : www.thaigoodview.com/node/6619